วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ไขความลับอัญมณี “ตุตันคาเมน” ที่แท้มาจากนอกโลก

สร้อยตุตันคาเมนที่ประดับด้วยแก้วที่สลักเป็นรูปแมลงปีกแข็งอันศักดิ์สิทธิ์



บีบีซีนิวส์ - ย้อนไปเมื่อ 10 ปีก่อน ณ พิพิธภัณฑ์ในนครไคโรของอียิปต์ นักธรณีวิทยาอิตาเลียนรายหนึ่งสังเกตเห็นอัญมณีประหลาดที่ประดับอยู่ตรงกลาง ของสร้อยเส้นหนึ่งของฟาโรห์ “ตุตันคาเมน” เมื่อนำไปตรวจสอบพบว่า แท้จริงอัญมณีเม็ดนั้นเป็นแก้ว แต่ปัญหาก็คือ แก้วที่ว่ามีอายุเก่าแก่กว่าอารยธรรมอียิปต์ตอนต้นเสียอีก

วินเซนโซ เดอ มิเชล (Vincenzo de Michele) คือนักธรณีวิทยาอิตาเลียนรายนั้น ได้ร่วมงานอาลี บาราคัต (Aly Barakat) นักธรณีวิทยาอียิปต์ เพื่อค้นหาต้นกำเนิดของอัญมณีปริศนาจนไปพบแก้วแบบนี้กระจัดกระจายเกลื่อนกลาดในทะเลทรายซาฮาราชนิดที่ไม่สามารถหาคำอธิบายได้ และนั่นนำไปสู่ปริศนาทางวิทยาศาสตร์ว่า “แก้วเหล่านั้นไปอยู่ในบริเวณดังกล่าวได้อย่างไร”

ล่าสุด รายการฮอไรซัน (BBC Horizon) ของสถานีโทรทัศน์บีบีซีจัดทำสารคดีเกี่ยวกับปริศนาเร้นลับนี้ โดยระบุทฤษฎีใหม่เชื่อมโยงเพชรประหลาดของตุตันคาเมนกับอุกกาบาตที่หล่นลงมา จากนอกโลก

เริ่มจากคริสเตียน โคเบิร์ล (Christian Koeberl) นักเคมีวิทยาดาราศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ที่ตั้งสมมติฐานว่า แก้วปริศนาเกิดจากอุณหภูมิที่สูงมากๆ ซึ่งเท่าที่รู้เกิดจากปัจจัยเพียงอย่างเดียวคือ ผลกระทบจากอุกกาบาตต่อโลก อย่างไรก็ดี ไม่มีร่องรอยของหลุมอุกกาบาตในบริเวณดังกล่าว แม้จากภาพถ่ายดาวเทียม

จอห์น วัสสัน (John Wasson) นักธรณีฟิสิกส์อเมริกันเป็นนักวิทยาศาสตร์อีกคนที่สนใจต้นกำเนิดของแก้ว ปริศนา ซึ่งเขาคิดว่าน่าจะมีสมมติฐานเดียวกันกับสิ่ง ที่เกิดในป่าในไซบีเรียเมื่อปี 1908 ซึ่งเรียกว่าปรากฏการณ์ตังกัสกา (Tunguska) ที่เกิดระเบิดครั้งใหญ่จนต้นไม้ 80 ล้านต้นในบริเวณนั้นราบเป็นหน้ากลอง

แม้ไม่ปรากฏสัญญาณว่ามีอุกกาบาตวิ่งชนโลก แต่นักวิทยาศาสตร์คิดว่า น่าจะมีวัตถุชนิดใดชนิดหนึ่งจากนอกโลกระเบิดเหนือตังกัสกา ขณะที่วัสสันสงสัยว่า น่าจะมีการระเบิดในอากาศในลักษณะคล้ายกันกับที่ตังกัสกา ซึ่งรุนแรงมากถึงขนาดที่ทำให้ทรายในทะเลทรายอียิปต์กลายสภาพเป็นแก้ว

การระเบิดของระเบิดปรมาณูลูกแรกที่ถูกนำไปทดสอบในนิวเม็กซิโกเมื่อปี 1945 ทำให้เกิดชั้นแก้วบางๆ บนผืนทราย แต่บริเวณที่กลายเป็นแก้วในทะเลทรายอียิปต์กินบริเวณกว้างขวางกว่า ดังนั้น ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในสถานที่ดังกล่าว ที่แน่ๆ สิ่งนั้นย่อมมีอานุภาพรุนแรงกว่าระเบิดปรมาณู

ไม่มีใครเคยได้ยินเรื่องการระเบิดกลางอากาศซึ่งเป็นปรากฏการณ์ ธรรมชาติที่มีความรุนแรงถึงระดับนั้นจนกระทั่งปี 1994 เมื่อนักวิทยาศาสตร์จับตาดูดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี (Shoemaker-Levy) ชนกับดาวพฤหัสบดีและเกิดระเบิดในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี ซึ่งกล้องโทรทัศน์อวกาศฮับเบิลเก็บภาพลูกไฟสว่างเจิดจ้าชนิดที่ไม่เคยเห็นมา ก่อนพุ่งขึ้นเหนือเส้นขอบฟ้าของดาวดวงดังกล่าว

มาร์ก บอสลัฟ (Mark Boslough) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจำลองปรากฏการณ์อุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งชนโลกบนซูเปอร์ คอมพิวเตอร์ สร้างสถานการณ์จำลองของปรากฏการณ์ดังกล่าว และพบ ว่าหากอุกกาบาตพุ่งชนโลก จะทำให้เกิดลูกไฟขนาดใหญ่ซึ่งสามารถทำให้อุณหภูมิบนผิวโลกสูงถึง 1,800 องศาเซลเซียส และทิ้งทุ่งที่เกลื่อนกลาดไปด้วยแก้วปริศนาไว้เบื้องหลัง

บอสลัฟระบุว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะรุนแรงกว่าระเบิดปรมาณูที่นำไปทดลองในนิวเม็กซิโกสิบ เท่า ยิ่งวัตถุนั้นเปราะบางเท่าไหร่ แนวโน้มที่จะเกิดการระเบิดในอากาศยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัสสันค้นพบสิ่งที่เหลือจากปรากฏการณ์เมื่อ 800,000 ปีที่แล้ว ซึ่งรุนแรงและทำลายล้างมากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในทะเลทรายอียิปต์ และอาจทำให้เกิดลูกไฟมากมาย รวมทั้งแก้วปริศนากินอาณาบริเวณหลายแสนตารางไมล์ โดยปราศจากร่องรอยหลุมอุกกาบาต ซึ่งหมายความว่า ผู้คนในบริเวณดังกล่าวไม่มีใครรอดชีวิตเลย

ที่สำคัญ จากทัศนะของบอสลัฟและวัสสัน เหตุการณ์ที่คล้ายกับที่เกิดขึ้นที่ตังกัสกาอาจเกิดขึ้นทุกๆ 100 ปี ทำให้เกิดระเบิดในอากาศรุนแรงพอๆ กับระเบิดปรมาณูที่บอมบ์ฮิโรชิมาหลายลูกรวมกัน

อย่าง ไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ยังเตือนว่า ความพยายามในการระเบิดอุกกาบาตที่พุ่งตรงมายังโลกเหมือนที่เห็นในหนังฮอลลี วูด รังแต่จะทำให้ระเบิดรุนแรงขึ้น

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


bridal-shower-games-to-play
free-printable-travel-games-for-kids
latest-free-mobile-games
play-shooting-games
where-can-i-play-hidden-object-games-free-online
childrens-games
game-to-play-now
negative-effects-of-video-games
play-games-free-now
play-tycoon-games-online

เผยภูมิปัญญามังกรโบราณ "โอ่งวัดแผ่นดินไหว"

รองสมองเบาๆ ก่อนตะลุย “นิทรรศการ 7,000 ปี นวัตกรรมจีน” ในสัปดาห์วิทยาศาสตร์ 49 แกะรอยเครื่องวัดแผ่นดินไหวเครื่องแรกของโลกที่บอกทิศที่เกิดแผ่นดินไหวได้, เข็มทิศซือหนันกับแนวคิดผู้ปกครองทางทิศใต้, อ่างจักรพรรดิ “ล้างหน้าได้มือไม่เปียก” ตบท้ายด้วยเกวียนวัดระยะทาง “ทราบได้อย่างไรว่าเดินทางมาไกลแค่ไหนโดยไม่ต้องพึ่งเกจวัดระยะทางของรถ?”

ท่ามกลางอารยธรรมที่กำลังเคลื่อนตัวไปข้างหน้า เราๆ อาจเผลอคิดกันอยู่เสมอว่า ยุคที่เราอาศัยอยู่นี้ช่างเป็นยุคที่มีความเจริญก้าวหน้ามากกว่ายุคใดๆ ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นวิทยาการ, เทคโนโลยี หรือนวัตกรรม ทว่าความคิดข้างต้นอาจไม่จริงเสมอไป “เหนือฟ้ายังมีฟ้า” โดยเศษเสี้ยวหนึ่งในนิทรรศการ “7,000 ปีนวัตกรรมจีน” ที่เราจะได้ชมใน “งานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2549” ระหว่างวันที่ 11- 22 ส.ค. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ ก็อาจทำให้เรารู้สึกทึ่งและตาค้างไปเลยก็ได้

ไฮไลท์สำคัญของนิทรรศการ 7,000 นวัตกรรมจีนที่เราจะนำมาเรียกนำย่อยกันได้แก่ “เครื่องวัดแผ่นดินไหว” เครื่องแรกของโลก สมัยราชวงศ์ฮั่น ปี ค.ศ.132 ผลงานการออกแบบของชาวจีนโบราณชื่อ “จาง เหิง” (Zhang Heng) มีขนาดกว้าง 225 ซม. ยาว 225 ซม. และสูง 170 ซม. ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยเตือนภัยได้ว่ามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น แต่ยังสามารถบอกทิศทางที่เกิดแผ่นดินไหวซึ่งจำแนกออกเป็น 8 ทิศได้ด้วย โดยรูปลักษณ์ที่ดูแปลกตาเหมือนชิ้นงานประดับตกแต่งฝีมือประณีตมากกว่าผลงาน ที่จะใช้ประโยชน์ได้จริง ประกอบไปด้วยโอ่งสำริด, มังกรคาบลูกสำริด และคางคกสำริด ภายในโอ่งเป็นหลอดหรือลูกตุ้มที่เรียกว่า “ตูจู้” (duzhu)

หลักการทำงานง่ายๆ ของเครื่องวัดแผ่นดินไหว คือ เมื่อเกิดแผ่นดินไหว การสั่นสะเทือนจะทำให้ลูกตุ้มที่มีน้ำหนักมากภายในโอ่งเอียงไปกดลงขากรรไกร ของมังกรที่หันไปทางจุดเหนือศูนย์แผ่นดินไหว ทำให้ลูกสำริดหล่นออกจากปากมังกร หล่นไปสู่ปากของคางคกที่นั่งอยู่ด้านล่างในทิศที่เกิดแผ่นดินไหว ดังนั้นเสียงดังที่เกิดขึ้นจากลูกตุ้มที่เอียงไปกระทบกับโอ่งและการหล่นของ ลูกสำริดก็จะช่วยบอกให้เราทราบถึงการเกิดแผ่นดินไหวและทิศทางของจุดกำเนิด แผ่นดินไหวได้

มรดกตกทอดทางอารยธรรมจีนโบราณที่น่าสนใจชิ้นต่อมาได้แก่ “เข็มทิศหินแม่เหล็กโบราณ” ซึ่งเข็มทิศถือเป็น 1 ใน 4 สิ่งประดิษฐ์อันยิ่งใหญ่ของจีนยุคบรรพกาล ช่วง 300 ปีก่อนคริศตศักราช หรือราว 2,300 ปีก่อนหน้านี้ โดยบรรพบุรุษชาวจีนได้ประสบความสำเร็จในการใช้หินแม่เหล็กมาทำเข็มทิศอันแรก ของโลกที่เรียกว่า “ซือหนัน” (sinan) ซึ่งแปลตามตัวอักษรจะหมายถึง “ผู้ปกครองทางใต้” ทิศที่เป็นทิศมงคลสำหรับกษัตริย์นักปกครอง โดยได้มีการกล่าวถึงซือหนันครั้งแรกในหนังสือ “หันเฟยจื่อ” (Han Feizi) ซึ่งเขียนขึ้นในยุคจั้นกว๋อ (ยุคสงครามระหว่างรัฐ,สงครามรณรัฐ) ประมาณ 475-221 ปีก่อนคริสตศักราช

ทั้งนี้ ซือหนันถูกแกะสลักขึ้นจากชิ้นของหินแม่เหล็กให้เป็นรูปทัพพีฐานเกลี้ยงและมน วางอยู่บนสมดุลบนแผ่นโลหะสำริดผิวเรียบที่หมายถึงโลก มีการแกะสลักตำแหน่งของทิศ 24 ทิศบนแผ่นสำริด เมื่อทัพพีวางอยู่บนตำแหน่งที่สมดุลแล้ว ปลายด้ามจับของทัพพีสำริดจะวางตัวชี้ไปทางทิศใต้เสมอ

พระเอกของงานอีกชิ้นที่เรียกความสนใจได้ไม่น้อย คือ “อ่างกังวานลายมังกรหลงสี่” (Longxi: Resonant Basin with dragon pattern) ซึ่งหากใครที่เป็นแฟนภาพยนตร์จีนตัวยงแล้วก็คงจะเคยเห็นอ่างกังวานลายมังกร มาบ้างแล้วก็ได้ โดยอ่างใบนี้จำลองมาจากต้นแบบในคริสต์ศตวรรษที่ 11-13 ที่มณฑลเหลียวหนิง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน ลวดลายมังกรที่ประดับอยู่ภายในทำขึ้นมาใช้เฉพาะในราชสำนักเท่านั้น

เมื่อมีการขัดถูด้วยฝ่ามือที่เปียกหมาดๆ ในบริเวณที่จับอย่างถูกวิธีจะทำให้น้ำภายในอ่างพุ่งขึ้นมาคล้ายกับน้ำพุ จึงใช้ล้างหน้าได้โดยไม่ต้องทำให้มือเปียกทั้งมือ ซึ่งเป็นผลมาจากการสั่นสะเทือนของภาชนะที่ส่งไปถึงน้ำในอ่าง โดยผู้รู้บางรายก็กล่าวถึงอ่างกังวานลายมังกรต่างออกไปว่า น่าจะเป็นอ่างน้ำผสมเครื่องหอมมากกว่า ซึ่งเมื่อขัดถูอย่างถูกวิธีแล้ว จะทำให้ละอองน้ำหอมกระเซ็นขึ้นมาสัมผัสกับใบหน้าผู้ใช้ ทำให้ได้รับกลิ่นหอมสดชื่นในแบบของอะโรมาเทอราฟี (การบำบัดด้วยกลิ่นหอม)

นวัตกรรมจีนโบราณชิ้นสุดท้ายที่นำมาเรียกน้ำย่อยกันคือ "เกวียนแบบมีเครื่องวัดระยะทาง" (The Odometer Cart) สมัยราชวงศ์ฮั่น ค.ศ.25-250 ใกล้ยุคสามก๊ก (ค.ศ.220-280) เป็นเครื่องมือสำหรับการกำหนดระยะการเดินทาง มักใช้ในพิธีการเกี่ยวข้องกับการเดินทางของกษัตริย์ โดยเกวียนแบบนี้ใช้ชุดเฟือง 6 ตัวในการวัดระยะทาง แกนของมันถูกต่อเข้ากับ "ขบวนเฟืองทดรอบ" (Reduction Gear Train) ซึ่งขับเคลื่อนให้แกนลูกเบี้ยวหมุนไป และตุ๊กตาไม้ที่อยู่ด้านบนจะถูกกระตุ้นให้ทำงานด้วยขบวนเฟืองทดรอบนี้ด้วย เช่นกัน ในทุกๆระยะทาง 1 ลี้ หรือ ครึ่งกิโลเมตร ตุ๊กตาตัวแรกจะถูกกระตุ้นให้ขยับตีกลอง ส่วนตุ๊กตาไม้ตัวที่สองจะตีกลองที่ระยะทางทุกๆ 10 กิโลเมตร

ทั้งนี้ นอกจากผลงานมรดกตกทอดของชาวจีนที่นำมาเสนอเหล่านี้แล้ว ผู้ชมงานยังจะได้พบกับแบบจำลองสถาปัตยกรรมพระราชวัง “หย่งเล่อ” (Yongle) สถาปัตยกรรมที่งดงามและยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์หยวน, การปักผ้าแบบหูหนานในช่วงปลายราชวงศ์ชิง, การเข้าสลักไม้ และกระเบื้องสันหลังคาดินเผาเคลือบเงา ฯลฯ รวมทั้งนิทรรศการและการแสดงต่างๆ อาทิ การแสดงตราสัญลักษณ์การครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ขนาดจิ๋ว 3 มิติ ของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ, กองทัพหุ่นยนต์กว่า 30 ตัวจากประเทศญี่ปุ่น, การโชว์แอโรเจลวัสดุกันความร้อนที่เบาที่สุดในโลก และการจำลองเสมือนจริงการเกิดภัยพิบัติต่างๆ


ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


easy-games-for-kids
games-for-ipod-i-can-download
free-downloadable-star-wars-games
fun-games-for-kids
ghostbusters-the-video-game
the-most-dangerous-game
addicting-games-com
free-online-war-games-shooting
free-sonic-games
play-arcade-game

เชื่อสิ่งมีชีวิตและออกซิเจนกำลังก่อกำเนิดตามดาวต่างๆ


นักวิทยาศาสตร์ชาว ญี่ปุ่นค้นพบประวัติศาสตร์จากก้อนหินโบราณที่มีอายุหลายพันล้านปีว่า ออกซิเจนบนโลกน่าจะก่อกำเนิดขึ้นภายหลัง จึงนำไปสู่แนวคิดที่ว่าดาวดวงอื่นๆ ที่ไม่มีออกซิเจนก็คงกำลังพัฒนาชั้นบรรยากาศที่มีออกซิเจนและโอโซนขึ้นมา ด้วยการสังเคราะห์แสงของสิ่งมีชีวิต

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ไอเดียใหม่เชื่อว่าออกซิเจนเพิ่งจะปรากฎในชั้นบรรยากาศเมื่อ 3.8 พันล้านปีก่อน ขณะที่โลกก่อตัวขึ้นเมื่อ 4.5 พันล้านปีก่อน

ถ้าแนวคิดเรื่องออกซิเจนโลกเป็นจริง ดาวเคราะห์ทั้งหลายก็น่าจะมีโอกาสที่จะมีสิ่งมีชีวิตและออกซิเจนได้

ไลฟ์ไซน์ดอทคอม – นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นเชื่อว่า ปริมาณออกซิเจนและสิ่งมีชีวิตกำลังก่อกำเนิดขึ้น ตามดาวเคราะห์ต่างๆ อย่างรวดเร็วเกินกว่าที่มนุษย์จะคาดคิด พร้อมตั้งสมมติฐานว่าโลกเราก่อนหน้านี้ไม่มีออกซิเจน แต่มาก่อขึ้นภายหลัง โดยการสังเคราะห์แสงของสิ่งมีชีวิต และดาวอื่นๆ น่าจะมีวิวัฒนาการที่คล้ายกัน

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ในวงกว้างเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตเล็กๆ หรือจุลชีพที่ใช้การสังเคราะห์แสงช่วยผลิตออกซิเจนให้แก่โลกมาตั้งแต่ 2.4 พันล้านปีก่อน ซึ่งก่อนหน้านี้โลกของเราก็ไม่มีออกซิเจนมาก่อนเช่นกัน โดยแนวคิดเช่นนี้มีพื้นฐานมาจากการค้นพบสัดส่วนไอโซโทปของซัลเฟอร์ในก้อนหินโบราณ

ก้อนหินโบราณอายุมากกว่า 2.4 พันล้านปี เต็มไปด้วยไอโซโทปของซัลเฟอร์ที่ผิดปกติเมื่อเทียบกับก้อนหินรุ่นใหม่ที่มี อายุน้อยกว่า โดยหนทางเดียวที่จะรู้ได้ว่าเหตุใดอัตราส่วนไอโซโทปของซัลเฟอร์นั้นผิดปกติ ก็สามารถดูได้ที่ปฏิกิริยาระหว่างแสงอาทิตย์กับก๊าซกำมะถันจากภูเขาไฟที่ บริเวณช่องโหว่ของชั้นโอโซน ซึ่งทำให้รังสีอัลตราไวโอเล็ตลอดเข้าสู่ชั้นบรรยากาศเข้ามา

โอโซนนั้นเกิดขึ้นจากการก่อตัวของออกซิเจน และถ้าชั้นบรรยากาศไม่มีโอโซน นั่นก็พอคาดเดาได้ว่าในอากาศไม่มีออกซิเจน

คำอธิบายเหล่านี้เป็นของฮิโรชิ โอโมโตะ (Hiroshi Ohmoto) นักธรณีเคมี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยดาราศาสตร์ชีววิทยาแห่งรัฐเพนซิลวาเนีย ในสหรัฐฯ (Penn State Astrobiology Research Center) โดยเขาและทีมงานได้ออกตรวจสอบก้อนหินอายุประมาณ 2.76-2.92 พันล้านปีในแถบออสเตรเลียตะวันตกที่ตกตะกอนอยู่ก้นทะเลสาบและใต้ทะเลลึก ซึ่งก้อนหินเหล่านั้นแสดงอัตราส่วนไอโซโทปของซัลเฟอร์เหมือนกับก้อนหินสมัย ใหม่ที่อยู่ในยุคมีออกซิเจนสูง

“เกิด ออกซิเจนขึ้นในชั้นบรรยากาศของโลกเราตั้งแต่เมื่อไหร่?” โอโมโตะตั้งคำถามสำคัญให้กับนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลกและชีววิทยา ซึ่งหากเป็นไปตามแนวคิดดังกล่าว โลกอื่นๆ ก็อาจจะมีวิวัฒนาการที่คล้ายโลก นั่นคือมีการพัฒนาออกซิเจนขึ้นมาในชั้นบรรยากาศเรื่อยๆ

นัย สำคัญของการค้นพบครั้งนี้ คือ ชั้นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยออกซิเจนนั้น เกิดขึ้นโดยสิ่งมีชีวิตสร้างออกซิเจนขึ้นมา ซึ่งอาจจะพบได้ในดาวเคราะห์ทั้งเก่าและใหม่ เหมือนกับที่โลกก่อกำเนิดขึ้นมาเมื่อ 4.5 พันล้านปีก่อน แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดล่วงรู้ว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาได้อย่างไรหรือแม้แต่สภาพทางเคมีของโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วแค่ไหน

โอโมโตะเผยอีกว่า การ ค้นพบครั้งนี้อาจนำไปสู่คำตอบได้ว่าปริมาณออกซิเจนบนโลกนั้นน่าจะเกิดขึ้น ตั้งแต่ 3.8 พันล้านปีก่อน และอาจเป็นไปได้ว่าปริมาณออกซิเจนในชั้นบรรยากาศขึ้นๆ ลงๆ เหมือนลูกดิ่ง หรือรังสีอัลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ก็อาจจะไม่ใช่สิ่งเดียวที่ทำให้สัดส่วนไอโซโทปของซัลเฟอร์ผิดปกติในหินโบราณก็ได้

แม้ว่าเขาจะเขียนรายงานการพบครั้งนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ ชื่อดังอย่าง “เนเจอร์” แล้วก็ตาม แต่ไอเดียของโอโมโตะก็ยังไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร พอล เนาธ์ (Paul Knauth) นักธรณีเคมีไอโซโทปและนักธรณีชีววิทยา มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซนา (Arizona State University) วิพากษ์ว่า แนวคิดแบบนี้อาจจะโดนโห่ไล่ และเชื่อว่าการวัดปริมาณซัลเฟอร์ของพวกเขาน่าจะไม่แม่นยำมากกว่า

อย่างไรก็ดี โอโมโตะและทีมงานก็เตรียมเดินหน้าพิสูจน์แนวคิดที่ค้บพบต่อไป โดยจะสำรวจก้อนหินในยุคต่างๆ จากส่วนต่างๆ ของโลกเพื่อหาสัดส่วนไอโซโทปของซัลเฟอร์ที่ผิดปกติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับปริมาณออกซิเจนในอากาศขณะนั้น ซึ่งแนวคิดนี้จะก้าวหน้าหรือล้มเหลวอย่างไรนั้น ก็คงต้องติดตามกันต่อไป

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


thomas-the-train-games
toddler-online-interactive-games
free-full-game-downloads
heavy-games
free-online-rpg-game
love-simulation-games
outdoor-games-for-children
pc-bible-games-to-download
play-nba-games-online
sonic-games-video-games

“ภาพ” มองเห็นด้วยตา จินตนาการออกมาเป็นเสียง

นักประสาทวิทยาจับสังเกตทางด้านสัมผัส เผยงานเขียนของศิลปินบางคนนอกจากจะมองเห็นด้วยตาได้แล้ว ยังสามารถรับรู้ความงดงามออกมาเป็นรูปแบบของเสียงได้อีกด้วย

คำอธิบายสำหรับเรื่องนี้คือ คนบางคนมีความสามารถพิเศษในการเชื่อมโยงความรู้สึก (synesthetes) ดังนั้น การมองภาพเขียน อาทิ ภาพ ‘คอมโพสิชันที่ 8, 1923’ (Composition VIII, 1923) ของวาสซิลี แคนดินสกี้ (Wassily Kandinsky) ศิลปินชาวรัสเซีย นอกจากจะเห็นความงดงามของภาพแล้ว คนเหล่านี้ยังได้ยินเสียงด้วย

ดร.เจมี วอร์ด (Dr Jamie Ward) นักประสาทวิทยาจากยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ออฟ ลอนดอน (University College London : UCL) กล่าวว่า สิ่งที่แคนดินสกี้ต้องการก็คือ ทำให้คนดูได้ยินเสียงจากผลงานของตนด้วย แม้ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ศิลปินผู้นี้มีความรู้สึกเชื่อมโยงหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ แคนดินสกี้ต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับปรากฏการณ์พิเศษทางความรู้สึกแบบนี้

คนที่มีความรู้สึกเชื่อมโยงมีอยู่ในสังคมเพียง 1-2% เท่านั้น แต่วอร์ดเชื่อว่า คนเราทุกคนเชื่อมโยงดนตรีกับศิลปะโดยไม่รู้ตัว

เพื่อทดสอบทฤษฎีนี้ วอร์ดขอให้ผู้ที่มีความรู้สึกเชื่อมโยงร่างภาพและอธิบายภาพที่เห็นจากดนตรี ที่นิว ลอนดอน ออร์เคสตรา (New London Orchestra) บรรเลง ขณะเดียวกัน อาสาสมัครอีกกลุ่มที่ไม่มีความรู้สึกเชื่อมโยง ถูกขอให้ทำแบบเดียวกัน โดยมีศิลปินอาชีพคนหนึ่งเป็นผู้สร้างแอนิเมชันจากภาพที่เกี่ยวข้องกับดนตรี

เมื่ออาสาสมัครกว่า 200 คนได้ดูภาพ 100 ภาพ และขอให้เลือกแอนิเมชันที่สอดคล้องกับดนตรีที่สุด ปรากฏว่าพวกเขาเลือกภาพที่คนที่มีความรู้สึกเชื่อมโยงวาด

“ราวกับว่าพวกเราเกือบทุกคนสามารถชื่นชมกับภาพที่มีความรู้สึกเชื่อม โยง แม้ไม่มีประสบการณ์พิเศษทางความรู้สึกแบบนั้นก็ตาม” วอร์ดอธิบาย

คนเราเกิดมาพร้อมความรู้สึกเชื่อมโยง วอร์ดและนักวิจัยอีกหลายคนเชื่อว่า การศึกษาปรากฏการณ์นี้ต่อไปจะทำให้ได้คำตอบว่า ความรู้สึกและความคิดร้อยเรียงกันในสมองได้อย่างไร

“แคนดินสกี้ต้องการสร้างศิลปะที่มองเห็นได้มากพอๆ กับอยากให้ผลงานของตนมีเสียงดนตรี และเป็นนามธรรมมากขึ้น เขายังหวังว่า ผู้ชมจะได้ยินงานเขียนของเขา” วอร์ดปิดท้าย

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th

free-dungeons-and-dragons-online-multiplayer-game
free-mario-games-on-line
free-racing-games
free-free-games-download
free-pokemon-game-downloads
kids-computer-games
homemade-board-games
play-free-kids-games
funny-base-games
the-helicopter-game

อีกคืบสู่โลกจินตนาการ ทำ "วัตถุล่องหน” ได้แล้ว 2 มิติ

“ล่องหน” อยู่ในจินตนาการตั้งแต่ “แหวนของไกจีส” ของเพลโต เมื่อ 2 พันปีก่อนจนถึง “ผ้าคลุมของแฮร์รี่ พอตเตอร์” หลังยุคมิลเลเนียม แต่ความพยายามจากนิยายกำลังจะกลายเป็นจริงขึ้นมาได้ เมื่อนักวิทยาศาสตร์พัฒนา “วัตถุล่องหน” ไปได้เร็วกว่าที่คิด แม้จะแค่ช่วงคลื่นไมโครเวฟก็ตาม ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจซ่อนหายไปจากสายตาก็เป็นได้

นักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษประสบความสำเร็จในการทำให้กระบอกทองแดงล่องหน โดยวง กลมทองแดงที่มีจุดศูนย์กลางร่วมกันบนแผ่นไฟเบอร์กลาส สามารถหักเหคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มาตกกระทบ โดยปรากฏคลื่นไมโครเวฟไหลผ่านรอบๆ วัตถุเหมือนกับกระแสน้ำที่ไหลผ่านก้อนหิน

ผลงานดังกล่าวเป็นการพัฒนาของ เดวิด สมิธ (David Smith) ศาสตราจารย์ในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และไฟฟ้า ของมหาวิทยาลัยดุ๊ก (Duke University) และเดวิด ชูริก (David Schurig) ผู้ช่วยนักวิจัย โดยทั้งคู่ตีพิมพ์ผลงานลงในวารสาร “ไซน์” (Science) ฉบับวันศุกร์ที่ผ่านมา (20 ต.ค.) โดยเป็นการพัฒนาต่อเนื่องมาจากทฤษฎีของเซอร์จอห์น เพนดรี (John Pendry) จากวิทยาลัยอิมพีเรียล (Imperial College) ในลอนดอน ที่ตีพิมพ์ไปเมื่อ 5 เดือนก่อน

"พวกเราสร้างภาพลวงตาที่สามารถซ่อนบางสิ่งบางอย่างไม่เห็นสังเกตเห็นได้บางมุม” ชูริกเผย พร้อมทั้งอธิบายว่า เหมือนกับการสร้าง “มิราจ” (Mirage) หรือภาพลวงตาที่เราเห็นบนถนนขณะกำลังร้อนระอุ ซึ่งเกิดจากการหักเหของแสง

ความพยายามครั้งแรก ทีมนักวิจัยได้ออก แบบการล่องหนของวัตถุโดยให้ขัดขวางการตรวจจับของคลื่นไมโครเวฟ ซึ่งคลื่นไมโครเวฟก็เหมือนคลื่นแสงและเรดาร์ที่ตกกระทบกับวัตถุต่างๆ และหักเหเข้าสู่ดวงตาทำให้มองเห็นและเกิดแสงเงา ต่างจากเทคโนโลยีสเตลธ (stealth) ที่ไม่ได้ทำให้เครื่องบินหรือจรวดหายไป แค่เพียงเกือบจะมองไม่เห็น และทำให้ยากแก่การตรวจจับด้วยเรดาร์

คนเรามองเห็นวัตถุต่างๆ ได้นั้นก็เพราะแสงที่ตกกระทบวัตถุเหล่านั้นกระเจิงเข้าสู่ตาของเรา ซึ่งการทำให้ล่องหนนั้นคือการลดแสงที่สะท้อนออกมาจากทั้งวัตถุและเงา โดยวัสดุที่ล่องหนสร้างขึ้นด้วย “เมทาเมทีเรียลส์” (metamaterials) ที่ผสมระหว่างโลหะกับวัสดุแผงวงจรไฟฟ้าอย่างเซรามิก, เทฟลอน หรือส่วนประกอบของไฟเบอร์

หลัก การคือให้วัตถุที่สร้างขึ้นมาสามารถนำแสงเดินทางไปรอบๆ ช่องโพรงภายในเมทาเมทีเรียลส์ได้ ดังนั้นวัตถุใดก็ตามที่วางอยู่ในบริเวณที่เมทาเมทรีเรียลส์ห่อหุ้มอยู่นี้ก็ จะถูกซ่อนไว้ เพราะแสงไม่สามารถส่องถึงวัตถุนั้นได้ จะเดินทางอ้อมผ่านไปเท่านั้น

"พวกเราทำงานนี้อย่างรวดเร็ว และเชื่อว่าจะนำไปสู่การล่องหนชนิดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า" ศ.สมิธกล่าวและระบุว่า พวกเขารู้วิธีสร้างวัตถุล่องหนที่พัฒนามากขึ้นกว่าเดิม ใน ขั้นแรกสามารถทำให้ล่องหนได้เพียงแค่ 2 มิติ และซ่อนแสงเงาได้เพียงเล็กน้อย ซึ่งขั้นต่อไปคาดว่าจะสามารถซ่อนได้หมดทั้ง 3 มิติ และตัดแสงเงาต่างๆ ออกไปได้

อย่างไรก็ดี การ สร้างอุปกรณ์ให้สามารถล่องหนจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าได้จริงๆ นั้น ศ.สมิธกล่าวว่า เป็นเรื่องยากและซับซ้อนมาก โดยต้องให้อุปกรณ์นั้นๆ สามารถห่อหุ้มแสงในช่วงคลื่นต่างๆ ได้หมด ขณะเดียวกันในฟากธุรกิจก็พยายามมองหาความเป็นไปได้ที่จะสร้างวัตถุล่องหน ขึ้น เชื่อว่าในอนาคตเทคโนโลยีล่องหนจะช่วยให้ทางการทหารสร้างวัตถุอาวุธที่ เรดาร์หาไม่พบ หรือป้องกันการตรวจจับจากสัญญาณต่างๆ ได้

ชูริกและสมิธต่างร่วมกันพัฒนาวัสดุล่องหนพร้อมกับทีมนักวิจัยของอิพีเรียล โดยการสนับสนุนของเซ็นเซอร์แมทริกซ์ (SensorMetrix) บริษัทด้านวัสดุและเทคโนโลยีในซานดิเอโก สหรัฐฯ ร่วมด้วยโครงการวิจัยหลังปริญญาเอก (Intelligence Community Postdoctoral Research Fellowship Program) และสภาวิจัยด้านวิศวกรรมและฟิสิกส์ของอังกฤษ (United Kingdom Engineering and Physical Sciences Research Council)

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th

fun-car-games
download-full-games-roller-coaster-tycoon-2
free-online-sports-games
free-toddler-computer-games
online-multiplayer-games
download-full-version-games
free-adventure-games-with-no-downloading
horse-dress-up-games
mini-games
online-dress-up-games

Hello

narongchaikom