วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เผยภูมิปัญญามังกรโบราณ "โอ่งวัดแผ่นดินไหว"

รองสมองเบาๆ ก่อนตะลุย “นิทรรศการ 7,000 ปี นวัตกรรมจีน” ในสัปดาห์วิทยาศาสตร์ 49 แกะรอยเครื่องวัดแผ่นดินไหวเครื่องแรกของโลกที่บอกทิศที่เกิดแผ่นดินไหวได้, เข็มทิศซือหนันกับแนวคิดผู้ปกครองทางทิศใต้, อ่างจักรพรรดิ “ล้างหน้าได้มือไม่เปียก” ตบท้ายด้วยเกวียนวัดระยะทาง “ทราบได้อย่างไรว่าเดินทางมาไกลแค่ไหนโดยไม่ต้องพึ่งเกจวัดระยะทางของรถ?”

ท่ามกลางอารยธรรมที่กำลังเคลื่อนตัวไปข้างหน้า เราๆ อาจเผลอคิดกันอยู่เสมอว่า ยุคที่เราอาศัยอยู่นี้ช่างเป็นยุคที่มีความเจริญก้าวหน้ามากกว่ายุคใดๆ ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นวิทยาการ, เทคโนโลยี หรือนวัตกรรม ทว่าความคิดข้างต้นอาจไม่จริงเสมอไป “เหนือฟ้ายังมีฟ้า” โดยเศษเสี้ยวหนึ่งในนิทรรศการ “7,000 ปีนวัตกรรมจีน” ที่เราจะได้ชมใน “งานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2549” ระหว่างวันที่ 11- 22 ส.ค. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ ก็อาจทำให้เรารู้สึกทึ่งและตาค้างไปเลยก็ได้

ไฮไลท์สำคัญของนิทรรศการ 7,000 นวัตกรรมจีนที่เราจะนำมาเรียกนำย่อยกันได้แก่ “เครื่องวัดแผ่นดินไหว” เครื่องแรกของโลก สมัยราชวงศ์ฮั่น ปี ค.ศ.132 ผลงานการออกแบบของชาวจีนโบราณชื่อ “จาง เหิง” (Zhang Heng) มีขนาดกว้าง 225 ซม. ยาว 225 ซม. และสูง 170 ซม. ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยเตือนภัยได้ว่ามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น แต่ยังสามารถบอกทิศทางที่เกิดแผ่นดินไหวซึ่งจำแนกออกเป็น 8 ทิศได้ด้วย โดยรูปลักษณ์ที่ดูแปลกตาเหมือนชิ้นงานประดับตกแต่งฝีมือประณีตมากกว่าผลงาน ที่จะใช้ประโยชน์ได้จริง ประกอบไปด้วยโอ่งสำริด, มังกรคาบลูกสำริด และคางคกสำริด ภายในโอ่งเป็นหลอดหรือลูกตุ้มที่เรียกว่า “ตูจู้” (duzhu)

หลักการทำงานง่ายๆ ของเครื่องวัดแผ่นดินไหว คือ เมื่อเกิดแผ่นดินไหว การสั่นสะเทือนจะทำให้ลูกตุ้มที่มีน้ำหนักมากภายในโอ่งเอียงไปกดลงขากรรไกร ของมังกรที่หันไปทางจุดเหนือศูนย์แผ่นดินไหว ทำให้ลูกสำริดหล่นออกจากปากมังกร หล่นไปสู่ปากของคางคกที่นั่งอยู่ด้านล่างในทิศที่เกิดแผ่นดินไหว ดังนั้นเสียงดังที่เกิดขึ้นจากลูกตุ้มที่เอียงไปกระทบกับโอ่งและการหล่นของ ลูกสำริดก็จะช่วยบอกให้เราทราบถึงการเกิดแผ่นดินไหวและทิศทางของจุดกำเนิด แผ่นดินไหวได้

มรดกตกทอดทางอารยธรรมจีนโบราณที่น่าสนใจชิ้นต่อมาได้แก่ “เข็มทิศหินแม่เหล็กโบราณ” ซึ่งเข็มทิศถือเป็น 1 ใน 4 สิ่งประดิษฐ์อันยิ่งใหญ่ของจีนยุคบรรพกาล ช่วง 300 ปีก่อนคริศตศักราช หรือราว 2,300 ปีก่อนหน้านี้ โดยบรรพบุรุษชาวจีนได้ประสบความสำเร็จในการใช้หินแม่เหล็กมาทำเข็มทิศอันแรก ของโลกที่เรียกว่า “ซือหนัน” (sinan) ซึ่งแปลตามตัวอักษรจะหมายถึง “ผู้ปกครองทางใต้” ทิศที่เป็นทิศมงคลสำหรับกษัตริย์นักปกครอง โดยได้มีการกล่าวถึงซือหนันครั้งแรกในหนังสือ “หันเฟยจื่อ” (Han Feizi) ซึ่งเขียนขึ้นในยุคจั้นกว๋อ (ยุคสงครามระหว่างรัฐ,สงครามรณรัฐ) ประมาณ 475-221 ปีก่อนคริสตศักราช

ทั้งนี้ ซือหนันถูกแกะสลักขึ้นจากชิ้นของหินแม่เหล็กให้เป็นรูปทัพพีฐานเกลี้ยงและมน วางอยู่บนสมดุลบนแผ่นโลหะสำริดผิวเรียบที่หมายถึงโลก มีการแกะสลักตำแหน่งของทิศ 24 ทิศบนแผ่นสำริด เมื่อทัพพีวางอยู่บนตำแหน่งที่สมดุลแล้ว ปลายด้ามจับของทัพพีสำริดจะวางตัวชี้ไปทางทิศใต้เสมอ

พระเอกของงานอีกชิ้นที่เรียกความสนใจได้ไม่น้อย คือ “อ่างกังวานลายมังกรหลงสี่” (Longxi: Resonant Basin with dragon pattern) ซึ่งหากใครที่เป็นแฟนภาพยนตร์จีนตัวยงแล้วก็คงจะเคยเห็นอ่างกังวานลายมังกร มาบ้างแล้วก็ได้ โดยอ่างใบนี้จำลองมาจากต้นแบบในคริสต์ศตวรรษที่ 11-13 ที่มณฑลเหลียวหนิง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน ลวดลายมังกรที่ประดับอยู่ภายในทำขึ้นมาใช้เฉพาะในราชสำนักเท่านั้น

เมื่อมีการขัดถูด้วยฝ่ามือที่เปียกหมาดๆ ในบริเวณที่จับอย่างถูกวิธีจะทำให้น้ำภายในอ่างพุ่งขึ้นมาคล้ายกับน้ำพุ จึงใช้ล้างหน้าได้โดยไม่ต้องทำให้มือเปียกทั้งมือ ซึ่งเป็นผลมาจากการสั่นสะเทือนของภาชนะที่ส่งไปถึงน้ำในอ่าง โดยผู้รู้บางรายก็กล่าวถึงอ่างกังวานลายมังกรต่างออกไปว่า น่าจะเป็นอ่างน้ำผสมเครื่องหอมมากกว่า ซึ่งเมื่อขัดถูอย่างถูกวิธีแล้ว จะทำให้ละอองน้ำหอมกระเซ็นขึ้นมาสัมผัสกับใบหน้าผู้ใช้ ทำให้ได้รับกลิ่นหอมสดชื่นในแบบของอะโรมาเทอราฟี (การบำบัดด้วยกลิ่นหอม)

นวัตกรรมจีนโบราณชิ้นสุดท้ายที่นำมาเรียกน้ำย่อยกันคือ "เกวียนแบบมีเครื่องวัดระยะทาง" (The Odometer Cart) สมัยราชวงศ์ฮั่น ค.ศ.25-250 ใกล้ยุคสามก๊ก (ค.ศ.220-280) เป็นเครื่องมือสำหรับการกำหนดระยะการเดินทาง มักใช้ในพิธีการเกี่ยวข้องกับการเดินทางของกษัตริย์ โดยเกวียนแบบนี้ใช้ชุดเฟือง 6 ตัวในการวัดระยะทาง แกนของมันถูกต่อเข้ากับ "ขบวนเฟืองทดรอบ" (Reduction Gear Train) ซึ่งขับเคลื่อนให้แกนลูกเบี้ยวหมุนไป และตุ๊กตาไม้ที่อยู่ด้านบนจะถูกกระตุ้นให้ทำงานด้วยขบวนเฟืองทดรอบนี้ด้วย เช่นกัน ในทุกๆระยะทาง 1 ลี้ หรือ ครึ่งกิโลเมตร ตุ๊กตาตัวแรกจะถูกกระตุ้นให้ขยับตีกลอง ส่วนตุ๊กตาไม้ตัวที่สองจะตีกลองที่ระยะทางทุกๆ 10 กิโลเมตร

ทั้งนี้ นอกจากผลงานมรดกตกทอดของชาวจีนที่นำมาเสนอเหล่านี้แล้ว ผู้ชมงานยังจะได้พบกับแบบจำลองสถาปัตยกรรมพระราชวัง “หย่งเล่อ” (Yongle) สถาปัตยกรรมที่งดงามและยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์หยวน, การปักผ้าแบบหูหนานในช่วงปลายราชวงศ์ชิง, การเข้าสลักไม้ และกระเบื้องสันหลังคาดินเผาเคลือบเงา ฯลฯ รวมทั้งนิทรรศการและการแสดงต่างๆ อาทิ การแสดงตราสัญลักษณ์การครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ขนาดจิ๋ว 3 มิติ ของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ, กองทัพหุ่นยนต์กว่า 30 ตัวจากประเทศญี่ปุ่น, การโชว์แอโรเจลวัสดุกันความร้อนที่เบาที่สุดในโลก และการจำลองเสมือนจริงการเกิดภัยพิบัติต่างๆ


ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


easy-games-for-kids
games-for-ipod-i-can-download
free-downloadable-star-wars-games
fun-games-for-kids
ghostbusters-the-video-game
the-most-dangerous-game
addicting-games-com
free-online-war-games-shooting
free-sonic-games
play-arcade-game

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น